Study information

ระบบการศึกษาฝรั่งเศส

ระบบการศึกษาในประเทศฝรั่งเศสถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบ LMD: Licence (Bachelor), Master และ Doctoral เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกประเทศในยุโรป ปริญญาบัตรออกโดยประเทศฝรั่งเศสและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก ในระดับปริญญาตรีจะเรียน 3 ปี ปีละ 60 หน่วยกิต เมื่อจบปริญญาตรีแล้วจะได้หน่วยกิตทั้งหมด 180 ในส่วนปริญญาโทนั้นจะเรียน 2 ปี แบ่งเป็นปริญญาโทปีที่ 1 (M!) และปริญญาโทปีที่ 2 (M2) เมื่อเรียนจบ 2 ปี และจะได้หน่วยกิตรวมท้ังหมด 120 หน่วยกิต สำหรับปริญญาเอกนั้นจะใช้เวลาเรียน 3 ปี โดยการรับเข้าจะพิจารณางานวิจัยเป็นหลัก (Research Proposal) 

 

ระบบอุดมศึกษาของฝรั่งเศส (French Higher Education) จะแบ่งเป็นการเรียนต่อในมหาวิทยาลัยหรือ Universités (University) และระบบ Grandes Ecoles หรือสถาบันผู้นำ (Leading Schools) หรือโรงเรียนชั้นสูง ซึ่งมีแค่ 3 สาขาที่สำคัญ คือ ทางด้านวิศกวรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจ และรัฐศาสตร​์ นอกเหนือจากนี้แล้วยังมีสถาบันเฉพาะทางสาขาอื่นๆ อาทิ โรงเรียนสถาปัตย์ โรงเรียนศิลปะ สถาบันทางด้านแฟชั่นดีไซน์ เป็นต้น ในส่วนของนักศึกษาไทยเอง เนื่องจากระยะเวลาเรียนปริญญาตรีจะใช้ระยะเวลา 4 ปีขั้นต่ำ ยิ่งถ้านักศึกษามีประสบการณ์การฝึกงานหรือประสบการณ์การทำงานบ้างแล้ว และสมัครเรียนในสาขาตรง สามารถสมัครเข้าปอโทปีสุดท้ายหรือ M2 ได้เลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักสูตรและนโยบายในการรับเข้าของแต่ละสถาบัน 

ด้วยความทีประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ร่ำรวยทางด้านการศึกษาสั่งสมมาช้านานอยู่แล้ว จึงเป็นประเทศอันดับสามอันดับสี่ที่นักศึกษาต่างชาติทั่วโลกเลือกมาศึกษาต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน มีหลักสูตรอินเตอร์หรือหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษให้ได้เลือกศึกษาต่อมากมาย ค่าเรียนและค่าครองชีพเองก็ไม่ได้แพงมาก เมื่อเทียบกับประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย จึงเป็นโอกาสดีที่นักศึกษาไทยเราจะได้มีโอกาสเรียนรู้วิชาการจากยุโรป รวมถึงโอกาสฝึกงานกับบริษัทฝรั่งเศสหรือบริษัทข้ามชาติ (Global Companies) และประสบการณ์ชีวิตนักศึกษานานาชาติ

อนึ่ง สำหรับคนที่อยากเข้าศึกษาต่อยอดในสาขาด้านการบริหารธุรกิจและการจัดการที่ฝรั่งเศสในระดับปริญญาโท ที่กรังด์เอกอล "Grandes Ecoles หรือ Business Schools ในฝรั่งเศส สถาบันส่วนใหญ๋จะพิจารณาโพรไฟล์นักศึกษาที่จบปริญญาตรีทางด้าน BBA หรือมีพื้นฐานวิชา Business & Management มาพอสมควร หากคุณเป็นนักศึกษาที่มาจากคณะอื่นๆที่ไม่ใช่คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์​ คณะวิทยาศาสตร์ ฯลฯ แต่มีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อยๆ 1-1.5 ปีขึ้นไป ทางสถาบันในฝรั่งเศสก็ยินดีที่จะพิจารณาโพรไฟล์ของคุณในการรับสมัครเข้าศึกษาต่อ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติโดยรวมของคุณ 

การรับเข้าของกรังด์เอกอลส่วนใหญ่จะดูที่คะแนนภาษาอังกฤษ ซึ่งคุณจะต้องมีคะแนน IELTS 6.0 ขั้นต่ำ หรือ TOEIC 750 ขั้นต่ำ หรือ TOEFL iBT 80 ขั้นต่ำ ตัวใดตัวหนึ่งสำหรับการยื่นเอกสารการสมัครเรียนต่อ เพื่อที่จะมั่นใจว่าคุณมีความสามารถในการเข้าใจภาษาอังกฤษจริงๆ ในส่วนของการพิจารณาเกรดเฉลี่ยนั้นไม่ได้เป็นหลักใหญ่มากนักเหมือนบางประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ ที่จะพิจารณาเกรดเฉลี่ยเป็นสำคัญ การดูเกรดเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการพิจารณาโพรไฟล์ของผู้สมัครแต่ไม่ได้ยึดเป็นเกณฑ์สำคัญ เกณฑ์ในการพิจารณาที่สำคัญของฝรั่งเศสจะดูจาก CV, Motivation Letter และการสอบสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์หรือทาง Skype มากกว่า ซึ่งความมุ่งมั่นตั้งใจ  หรือ Motivation ที่แท้จริงของผู้สมัคร พร้อมความเข้าใจใน Career path ของผู้สมัครซึ่งต้องศึกษาและเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี คือคำตอบในการที่จะได้รับโอกาสในการตอบรับจากสถาบันในฝรั่งเศสมากกว่า ดังน้ันในช่วงที่ผู้สมัครได้รับการนัดหมายให้สอบสัมภาษณ์กับทางคณาจารย์ของสถาบัน ผู้สมัครจะต้อง convince คณาจารย์ที่สัมภาษณ์คุณหรืออธิบายได้ว่าทำไมคุณถึงเลือกหลักสูตรนี้ พร้อมแสดงคุณสมบัติของตัวผู้สมัครเองและชี้แจงถึง Career Path หรือการต่อยอดการทำงานหลังจากจบการศึกษาในสาขาที่คุณสมัครได้ 

Tips ในการเตรียมเอกสาร CV หรือ Resume และ Motivation Letter หรือ SOP (Statement of Purpose)

สำหรับการเตรียมเอกสาร CV หรือ Resume ของคุณ จัดให้อยู่แค่หนึ่งหน้ากระดาษเดียวก็เพียงพอแล้ว ในกรณีที่มีข้อมูลที่ต้องใส่เกินหนึ่งหน้ากระดาษจริงก็ควรจัดให้ได้มากสุดแค่สองหน้าพอ และมีแต่ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติในตัวคุณและเอื้ออำนวยต่อสาขาวิชาที่สมัคร ส่วนรูปก็ควรจะเป็นรูปถ่ายที่ดูดีหน้าตรง ดู professional และเป็นทางการ

ในส่วนของ Motivation Letter หรือ SOP (Statement of Purpose) นั้น ก็ควรเขียนให้ได้แค่เพียง 1 หน้ากระดาษ A4 เท่านั้น และมีแต่ข้อมูลที่สำคัญ และจำเป็นที่แสดงถึงเจตจำนงหรือ Motivation ในการสมัครเรียนของคุณ (คือเนื้อความต้องไม่เวิ่นเว้อ ยืดเยื้อ แต่มุ่งเข้าประเด็นในเนื้อหา และกระชับได้ใจความมากกว่า) โดที่เนื้อหาใน Motivation Letter หรือ SOP จะประกอบไปด้วย 3 พารากราฟ คือ เกริ่นนำเกี่ยวกับผู้สมัครว่าจบสาขาอะไรมาจากสถาบันไหนและทำไมถึงเลือกเรียนสาขานี้ พารากราฟที่สองจะเป็นเนื้อหาที่แสดงเหตผลสนับสนุนว่าทำไมคุณถึงอยากศึกษาต่อในหลักสูตรที่คุณสมัคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการสมัครเรียนในสาขาที่ต่างจากสาขาเดิม เช่น คุณอาจจะจบเอกภาษาอังกฤษมา แต่อยากศึกษาต่อยอดปริญญาโทในสาขการตลาดเป็นต้น คุณจะต้องให้เหตผลสนับสนุนในส่วนพารากราฟที่สองนี้ได้ พารากราฟสุดท้าย คุณต้องขมวดเนื้อหาและสรุปได้ว่าหลังจากจบหลักสูตรในสาขาที่คุณสมัครแล้วคุณจะต่อยอดสายอาชีพหรือการทำงานไปในทิศทางใด หรือประกอบอาชีพอะไรในอนาคต

หลังจากที่ส่งเอกสารการสมัครแล้ว ก็จะมีการสอบสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์หรือทาง Skype ซึ่งเป็นเสต็ปสุดท้ายที่ทางคณาจารย์ของหลักสูตรจะได้รู้จักผู้สมัครได้ดียิ่งขึ้น เป็นต้นว่า ความตั้งใจในการสมัครเรียนต่อของคุณ เป้าหมายในการทำงาน หรือ career path ของคุณ รวมถึงทักษะทางภาษา บุคลิกลักษณะ และทัศนคติของผู้สมัคร เพื่อที่ทางคณาจารย์จักได้ประเมินได้ว่าคุณมีคุณสมบัติที่ทางสถาบันจะตอบรับให้เข้าเรียนแต่ในหลักสูตรของสถาบันหรือไม่ ตรงเสต็ปนี้สำคัญมาก คุณจะต้อง convince คณาจารย์หรือกรรมการที่สัมภาษณ์คุณให้ได้ว่าทำไมคุณอยากศึกษาต่อยอดในหลักสูตรที่คุณสมัคร เพื่อที่ทางสถาบันจะตอบรับในตัวคุณได้อย่างไม่มีข้อกังขา และเป็นเสต็ปที่ผู้สมัครเรียนต่อต้องเตรียมตัวมาอย่างดีทีเดียวเชียวแหละ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจศึกษาต่อฝรั่งเศส แต่ยังไม่แน่ใจในโพรไฟล์ตัวเอง รวมถึงหลักสูตรและระเบียบการสมัครของสถาบันในความร่วมมือของ InterFrance Study ปรึกษาทีม Student Services ของเราได้เช่นกัน เพื่อความมั่นใจเต็มร้อยก่อนบินลัดฟ้าไปเรียนต่อ ณ เมืองน้ำหอม

Visitors: 124,361